คลังเก็บหมวดหมู่: เคียงข่าว

เยียวยา 522 (เคียงข่าว)

ผู้ได้รับเงินเยียวยา รอบแรก 522 ราย วงเงิน 579 ล้านบาทแล้ว / โดยคุณปกรณ์ พันธุ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ บอกว่า ตัวเลขผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548-2553 ในกลุ่มแรก แบ่งเป็น เสียชีวิต 44 ราย / ทุพพลภาพ 6 ราย / บาดเจ็บสาหัส 56 ราย / บาดเจ็บไม่สาหัส 177 ราย / บาดเจ็บเล็กน้อย 239 ราย

 

เดิมมีจำนวนตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบมี 529 ราย แต่ภายหลังตรวจพบว่ามี 7 รายที่มีปัญหา โดย 2 รายผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยายังตกลงกันไม่ได้ ส่วนอีก 4 รายทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แจ้งว่ามีปัญหาเรื่องคดีที่ต้องรอให้จบก่อน และอีก 1 รายเป็นกรณีที่เหตุเกิดนอก เขต พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

รูปแบบการจ่ายเงิน ผู้เสียชีวิตจะได้รับเช็คเงินสด 3.25 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินเยียวยาการสูญเสียชีวิต 3 ล้านบาท / อีก 2.5 แสนบาท เป็นค่าปลงศพ ส่วนเงิน 4.5 ล้านบาท ผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาจะได้รับเป็นสลากออมสิน หากประสงค์จะเปิดบัญชีทันทีก็สามารถทำได้ที่ธนาคารออมสิน สาขาทำเนียบรัฐบาล หรือประสงค์จะทำที่สาขาอื่นในภายหลังก็สามารถทำได้

 

นพ.รณชัย คงสกนธ์ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรง บอกว่า ตัวเลข 7.75 ล้านบาทเป็นของรัฐบาล ไม่ได้เป็นข้อเสนอของ คอป. เพราะกรรมการ คอป.ยังตั้งคำถามถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะเงินเยียวยาจิตใจ 3 ล้านบาท ซึ่งในต่างประเทศไม่มีหลักการแบบนี้ / ดังนั้น การจ่ายเงินเยียวยาจึงไม่เกี่ยวกับคอป. เพราะรัฐบาลเอาเนื้อของ คอป.ไปปรับเสริมเติมแต่งให้เป็นตัวเลข 7.75 ล้านบาท

นพ.รณชัย บอกว่า ขณะนี้การจัดทำตัวเลขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมตามหลักสากลที่ได้มีการเสวนาวิชาการมาก่อนหน้านี้ของ คอป. ใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว คาดว่าประมาณต้นเดือน มิ.ย.55 น่าจะนำออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ และหากจะมีการจ่ายเงิน ตัวเลขที่ออกมาน่าจะใกล้เคียงกับจำนวน 3.2 ล้านบาท

เดิมที 15.30 น.วันนี้ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นประธานมอบเงินเยียวยา แต่ช่วงสายที่ผ่านมา กำหนดการเปลี่ยนแปลงไป โดยนายกฯ มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี ยงยุทธ วิชัยดิษฐ และ รมว.มหาดไทย เป็นประธานมอบเงินเยียวยาแทน /โดยทีมงานของนายกรัฐมนตรีแจงว่า เกรงนายกฯ จะกลับมาจากเชียงใหม่ไม่ทัน/ จึงมอบหมายให้คุณยงยุทธ เป็นประธานแทน

ขอบคุณข้อมูลจาก nation channel/ภาพจาก @suthida_NBC

เคียงข่าว รู้จัก “พล.ต.นะคะมวย”

“ซอละป่อย” คือชื่อเดิมของ พล.ต.นะคะมวย ชาวพม่าเชื้อสายกะเหรี่ยง ซึ่งถือเป็นชาติพันธ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของพม่า และเปิดศึกระหว่างกันมายาวนาน พล.ต.นะคะมวย จบการศึกษาชั้น 9 หรือเทียบเท่ากับม.3 ในประเทศไทย เริ่มชีวิตการเป็นทหารในวัยเพียง 15 ปี ด้วยยศ สิบโท ของกลุ่มกะเหรี่ยงเคเอ็นยู กองพันที่ 7 ซึ่งถือเป็นกองกำลังกะเหรี่ยงคริสต์ ก่อนจะสมัครเป็นทหารกองกำลังติดอาวุธ เคเอ็นยู ในปี 2507-2527 และเลื่อนยศเป็นพ.ท.ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันกองกำลังกะเหรี่ยงดีเคบีเอ กองพลน้อยที่ 999 รับผิดชอบพื้นที่ตั้งแต่ จ.เมียวดี ตรงข้ามอ.แม่สอด จ.ตากของไทย ไปถึงอ.พญาตองซู ตรงข้าม จ.กาญจนบุรี ก่อนจะเลื่อนยศ เป็นพ.อ.ตำแหน่งผู้บัญชาการยุทธวิธี โกทูบลอ ของกองกำลังกะเหรี่ยงดีเคบีเอ และขึ้นเป็นพล.ต.ในปัจจุบัน

ในปี 2553 พล.ต.นะคะมวย โจมตีทหารพม่า ในจ.เมียวดี เพระไม่ยอมเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน หรือ บีจีเอฟ ให้กับรัฐบาลพม่า มีรายงานว่า การที่นะคะมวย ไม่ยอมเข้าร่วมเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน เพราะจะส่งผลต่อพื้นที่อิทธิพล ทำมาหากินของเขา ซึ่งมีทั้งเหมืองแร่ การค้าของชายแดน และยาเสพติด

แม้ภาพของพล.ต.นะคะมวย จะเป็นทหารที่ผูกโยงอยู่กับเรื่องของธุรกิจผิดกฏหมาย แต่การเปิดแถลงข่าวของเขาในวันที่ 10 พ.ค.นี้ก็น่าจับตาไม่น้อย โดยเฉพาะ การเตรียมเปิดโปง  “ขบวนการค้ายาเสพติดที่แท้จริง” เพราะเรื่องแบบนี้ หากพล.ต.นะคะมวย พูดความจริง คงไม่มีใครรู้ดีเท่าตัวเขาอีกแล้ว

ปภ.ระยอง แจงเหตุก๊าซรั่วซ้ำรง.อทิตยาเบอร์ร่า เคมีคอลไทยแลนด์

19.15น.มีรายงาน  เกิดเหตุแก๊สรั่วจาก บ.อาทิตยา เบอร์ร่า เคมิเคิล ไทยแลนต์ ซึ่งอยู่ในนิคมฯ มาบตาพุด มีคนได้รับบาดเจ็บจากการสุดดมควันหลายราย

19.43 น.ปภ.ระยอง ชุมพล พิชญชัย บอก เหตุก๊าสรั่วที่รง.อดิตยา เป็นปัญหาจากระบบemergency shut down มีผู้ได้รับผลกระทบ 8 ราย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล..

สำหรับระบบ Emergency Shutdown  หรือ  (ESD) คือ ระบบซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดในระบบการทำงาน ระบบสำรองจะทำหน้าที่ทดแทนเพื่อทำการปิดระบบ (Shutdown) ด้วยความปลอดภัยและด้วยขั้นตอนที่ถูกต้อง ยกตัวอย่าง เช่น ในโรงงานไฟฟ้า เมื่อเกิดสิ่งผิดปรกติ ระบบ ESD จะทำการ ปิดเครื่องจักรต้นทางเรื่อยไปจนถึงระบบส่ง รวมถึงการลดแรงดันเชื้อเพลิงเพื่อความปลอดภัย จึงถือเป็นระบบที่สำคัญสำหรับโรงงานที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงเมื่อเกิดความผิดปรกติ

9 ข้อเรียกร้องแรงงานยื่นต่อรัฐบาล

ทุกวันที่ 1 พ.ค.ซึ่งตรงกับวันแรงงาน กลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งหลาย จะร่วมกันจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ 1 ในกิจกรรมสำคัญคือการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกับปีนี้ ปี 2555 ซึ่งแม้รัฐบาลจะประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้ แต่ต้องเรียกว่า”เงินยังไม่ทันได้รับ แต่ราคาสินค้า และค่าครองชีพ กลับปรับขึ้นไปรออยู่แล้ว”

     

สำหรับปีนี้ กลุ่มผู้ใช้แรงงานจะรวมตัวกันที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ก่อนเคลื่อนขบวนไปตามถ.ราชดำเนิน และเข้าสู่เวทีกลางที่ท้องสนามหลวง ส่วนข้อเรียกร้องสำคัญมีอยู่ 9 ข้อด้วยกัน

1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98

2.ให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบกิจการปิดกิจการ เลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน

3.ให้รัฐบาลยกเลิก พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และยกเลิกการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกกิจการ

4.ให้รัฐบาลยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้ของลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในกรณีเงินค่าชดเชย และเงินรายได้อื่นๆ ซึ่งเป็นเงินงวดสุดท้ายของลูกจ้าง

5.ให้รัฐบาลประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้แรงงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างกว้างขวางและติดตามผล การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการในเรื่องความปลอดภัยในวิชาชีพและกรอบสุขภาพในระดับชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

6.ให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาบทบัญญัติว่าด้วยการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในหมวด 13 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (มาตรา 163)

7.ให้รัฐบาลประกาศพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ทันตามกรอบเวลา และประกาศยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหิน

8.ให้รัฐบาลแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเป็น 2 เท่า จากเดิมที่บัญญัติไว้

9.ให้รัฐบาลออกกฎหมายจัดตั้งกองทุนสวัสดิการดูแลรักษาสุขภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังเกษียณอายุให้เทียบเท่ากับข้าราชการบำนาญ หรือ ภาคเอกชน

ทั้งหมดนี้ ยื่นต่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร